random craps...that is my life รำพึงรำพัน กระแสความคิดของปัจเจกชนบนโลกใบใหญ่

Saturday, December 15, 2007

ประติมากรรมเรขาคณิต



เมื่อวานได้ลองกูเกิ้ลเรื่องโอริงามิ เพราะอยากรู้ว่าเซึยนทั้งหลายเค้าออกแบบงานกันยังไง จริงๆมีเพือ่นที่ญี่ปุ่นคนนึงที่พับได้เก่งมาก แค่บอกไปว่าอยากได้อะไรมันพับให้เลย แต่มันจะชอบพับออกแนวทะลึ่งๆ อุบาทว์หน่อย อิอิ...ไม่บอกแล้วกันว่ามันพับอะไรให้ แต่แบบว่าพิเรนทร์สุดๆ
เข้าเรื่อง...ทีนี้ก็พอรู้มาว่ามันมีหลักการทางเรขาคณิตในการพับอยู่เหมือนกัน นักปรัชญากรีกโบราณรวมทั้งนิวตันได้เคยศึกษารูปเหลี่ยมสามมิติ และได้จัดประเภทไว้ตั้งนานแล้ว และมีความเชื่อมโยงกับทฤษฎีคณิตศาตร์สมัยใหม่ ที่เรียกว่าพีชคณิตนามธรรม (ไม่รู้เรียกเป็นภาษาไทยถูกเปล่าแฮะ) ก็พวก Group theory น่ะแหละ ซึ่งจะเป็นอีกรูปแบบ(formalism)หนึ่ง
ทฤษฎีที่ว่านี้ เข้าข่าย unifying theory คือเป็นแนวรวบกระบวนการจากหลายๆวิธีคิด (เช่นเรขาคณิตแบบใช้มือวาดลากเส้น แบบใช้ระบบพิกัดและสมการแทนรูปร่างเพื่อคำนวณ หรือไม่ก็แทนด้วยเวกเตอร์ไปเลย)
แล้วทฎษฎีสมัยใหม่ที่ว่านี้ ก็รวบยอดในแนวราบเพื่อมองเป็นภาพเดียวว่ามันคือปรากฏการณ์คล้ายๆกัน แล้วยังสามารถต่อยอดไปยังความคิดใหม่ๆและระบบอื่นๆเช่น ปม(knot) หรือ string ในทฤษฎีสตริงได้ ถือว่าทรงพลังมาก (ไม่ต้องไปไกลถึงคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ สำหรับวิศวะไฟฟ้าหรือเครื่องกลเอง คำตอบของสมการเชิงอนุพันธ์ หรือ อนุกรมฟูริเยร์ ก็เป็นองก์ประกอบของเวกเตอร์สเปส ซึ่งสามารถอธิบายได้กระทัดรัดด้วยพีชคณิตนามธรรม...อาจจะง่ายกว่าด้วยซ้ำ เพราะเห็นภาพรวมได้เร็วและชัดกว่าการลองคำณวนด้วยสูตรต่างๆ และสมการซับซ้อนมหาศาล)

ฟังดูซับซ้อนเนอะ จากสูงสุดสู่สามัญ มาเข้าเรื่องเรขาคณิตดีกว่า ถามว่าน่าสนใจยังไง ที่น่าสนใจเพราะเราทดลองได้ไงละ (เหมาะสำหรับเด็กไร้เดียงสาอย่างเรา) ฝึกสมองดีด้วยแถมเราสามารถโชว์ผลงานให้คนอื่นดูได้ไงล่ะ ยิ่งปัจจุบันเรามีคอมพิวเตอร์ที่ช่วยจำลองหรือคำนวณให้เราได้ คือสร้างคำสั่งให้มันทำซ้ำๆ ให้เราได้ เห็นแล้วอยากทำโปรเจกต์เลย  (เมื่องานลองเล่น Mathmatica มีฟังก์ชัน polyhedra ด้วย) พวกถาปัตย์นี้คงชอบเลย

ลองมาดูแหล่งกัน geometry junkyard อันนี้เป็นลิงค์รวมเพื่อหาไอเดีย
หรือหนังสือเกมลองปัญญาเล่มนี้ "1000 PlayThinks: Puzzles, Paradoxes, Illusions&Games, Ivan Moscovich"   ส่วนต้วชอบส่วนที่เป็นเกมภาพทั้งหลาย
และก็...นาย จอร์จ ฮาร์ต คนนี้ที่ใช้หลักสมมาตรและโทโพโลจีของรูปทรง มาออกแบบงานสามมิติที่ดูมีีชีิวิตชีวา น่าสนใจ http://www.georgehart.com/sculpture/sculpture.html ...แน่มาก บางอันนี่เป็นแฟรกทัลหรือสุ่มเพื่อเลียนแบบปรากฎการณ์ธรรมชาติอ่ะ
ฝากคนอ่านบล็อกเราลองคิดดูละกันว่างานออกแบบแนวนี้นอกจากเป็นมองเป็นศิลปะแล้ว ยังมีประโยชน์อะไรอีกบ้าง (ฮินท์ ลองนึกถึงหนังดูสิ)

PS: entry นี้ เนิร์ดได้ใจจริงๆ

Labels: , ,

0 Comments:

Post a Comment

<< Home