ช่วงนี้อ่านความเห็นของคนไทยทั่วไปในเว็บบอร์ดเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์
(ในแง่ความเกี่ยวเนื่องปัญหาการเมืองและพัฒนาการประชาธิปไตยไทย)
แล้วก็ได้ข้อสรุปสั้นๆบางประการ
๑. คนหลายคน sensitive เกินไป ใช้อารมณ์นำ ทำให้ขาดการวิเคราะห์ วิจารณญาน (รักในหลวง=รักพ่อไม่เหมือนกัน ขนาดถึงพ่อเราก็ควรวิจารณ์ได้ ถ้าวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ และในหลวงเป็นตัวแทนของสถาบันไม่ใช่สถาบัน) อันนี้จะโทษคนไทยว่าโง่งม โทษในหลวง หรือโทษสื่อต่างชาติ ก็ไม่ถูก เพราะเมืองไทยมีสื่อชี้นำสร้างภาพเยอะจริงๆ ในหลวงจะเกี่ยวข้องหรือไม่ ผมคงไม่สามารถพิสูจน์ได้ แต่ที่รู้แน่ๆคือมีคนได้ประโยชน์และใช้อำนาจในทางผิดจากความนิยมในพระองค์ อันนี้คนไทยควรเข้าใจตรงนี้ คนที่มีอำนาจที่สุดในประเทศนี้คงไม่ใช่ในหลวงหรอกครับ และจะหวังพึ่งสถาบันกษัตริย์ตลอดไปไม่ได้ ที่พูดๆกันว่ารักพ่อน่ะ ถ้าเป็นลูกที่ดีจริงต้องเติบโตด้วยลำแข้งตัวเองสิ
๒. อันนี้สาหัสกว่า เวบบอร์ดมักมีการปิดการแสดงความคิดเห็นเอาซะงั้น (รวมทั้งบอร์ดของวิชาการ.คอม) ผมว่าควรมีการเรตคอมเม้น ให้คนอ่านโหวดความความเหมาะสม ถ้าก้าวร้าวคะแนนติดลบก็ให้มันซ่อนไว้ คนที่อยากดูค่อยคลิกด ูเหมือนใน
ยูทูปน่าจะดีกว่า ทำให้เรื่องสถาบันกษัตริย์กลายเป็นจุดบอด ถ้าคนไทยข้ามกำแพงความคิดนี้ไปไม่ได้ ก็ก้าวต่อไปข้างหน้าลำบาก
วันนี้ได้อ่าน
บทความใหม่ของ อ.นิธิ เอียวศรีวงษ์ ที่ผมว่าเขาวิเคราะห์ ได้ตรงใจผมมาก จึงอยากแบ่งปันกัน โดยเฉพาะประเด็น "มโนภาพ"ของในหลวงที่ถูกสร้างโดยชนชั้นกลาง (ผมเคยเขียนเรื่องคล้ายๆกันในเรียงควา้มเกี่ยวกับหนัง propaganda สามชาติในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ตอนอยู่มหาลัย ว่าหนังชี้นำที่หลอกคนได้ชะงัดนัก ก็คือหนังที่สร้างจินตภาพที่คนส่วนใหญ่ต้องการจะเชื่ออยู่แล้วนั้นเอง สิ่งนี้เป็นคุณสมบัติของสื่อชี้นำที่คนทั่วไปมักมองข้าม) และก็ที่บอกว่า กษัตริย์อยู่เหนือการเมืองน่ะ คงห่างจากความจริงในประเทศนี้ เพราะใครๆก็อ้างความเป็นธรรมจากในหลวง ไม่เชื่อก็มองรอบๆตัวสิ มีแต่คนพูดว่า...(เติมกริยาเอาเองตามอัธนาศัย)เพื่อพ่อ ถ้าต้องการอ่านหนังสือ The King never smiles ของ Paul Handley อย่างเป็นธรรม ไม่ใช่ใส่อคติสุดโต่งทางใดทางหนึ่ง ควรจะมองแง่บทบาททางการเมืองของสถาบันกษัตริย์ โดยแยกจากความเป็นบุคคล (หนังสือเล่มนี้จริงๆ เขียนชีวประวัติของพระองค์ในเชิงมนุษย์ที่มีเลือดเนื้อ ต้องจัดการกับสถานการณ์ที่ตัวเองเผชิญต่างหากล่ะ คนอ่านทั้งไทยและเทศหลายคน ไม่เก๊ตตรงนี้ ดันมองเป็นแง่มุมการเมือง หรือการหมิ่นศักดิ์ศรีไปซะหมด การเขียนชีวประวัติคนอื่นไม่ว่าจะเขียนเยินยอ หรือตำหนิ ต่อให้ข้อมูลแม่นยำแค่ไหนจะให้มันตีความเป็นจริงไปหมด เป็นไปไม่ได้หรอกครับ ขนาดคนเราบางทีใจเราเองยังไม่รู้แน่เลยว่ารู้จักตัวเองกันดีแค่ไหน)
สนใจเพิ่มอีกก็แนะนำให้อ่าน
New Mandala คอมเม้นกันได้ข้นทีเดียว มีสองคนที่เห็นตรงข้ามกันคนละขั้ว
ผมอ่านก็ยังรู้สึกขัดแย้งในตัวเองว่าทางเลือกที่สองคนเสนอนั้น อะไรตรงกับสามัญสำนึกตนเองกว่า
Labels: politics, thai